วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สิทธิบัตร

. สิ ท ธิ บั ต ร .



สิทธิบัตร  หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ เพื่อให้ได้สิ่งของ,เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การประดิษฐ์รถยนต์, โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์ หรือการออกแบบขวดบรรจุน้ำดื่ม, ขวดบรรจุน้ำอัดลม หรือการออกแบบลวดลายบนจานข้าว, ถ้วยกาแฟ ไม่ให้เหมือนของคนอื่น เป็นต้น

รูปแบบหรือประเภทของสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร จะมีอยู่ 3 ประเภท คือ
·       สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หมายถึง การคิดค้นเกี่ยวกับ กลไก โครงสร้าง ส่วนประกอบ ของสิ่งของเครื่องใช้ เช่น กลไกของกล้องถ่ายรูป, กลไกของเครื่องยนต์, ยารักษาโรค เป็นต้น หรือการคิดค้นกรรมวิธีในการผลิตสิ่งของ เช่น วิธีการในการผลิตสินค้า, วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้น
·       สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง การออกแบบรูปร่าง ลวดลาย หรือสีสัน ที่มองเห็นได้จากภายนอก เช่น การออกแบบแก้วน้ำให้มีรูปร่างเหมือนรองเท้า เป็นต้น
·       อนุสิทธิบัตร (Petty patent) เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์คิดค้น เช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่แตกต่างกันตรงที่การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตร เป็นการประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้นมาก

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ กฎหมายกำหนดว่า จะต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 2 อย่าง ดังต่อไปนี้
·       เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เคยมีหรือขายมาก่อน หรือยังไม่เคยเปิดเผยในเอกสารสิ่งพิมพ์ใดๆ ในทีวี หรือในวิทยุมาก่อน
·       สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม หรือหัตถกรรมได้

คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร ต้องประกอบด้วย
-                   แบบพิมพ์คำขอ แบบสบ/สผ/อสป/001-ก
-                   รายละเอียดการประดิษฐ์
-                   ข้อถือสิทธิ
-                   บทสรุปการประดิษฐ์
-                   รูปเขียน (ถ้ามี)
-                   เอกสารอื่นๆ
-                   หนังสือรับรองสิทธิเกี่ยวกับการขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร (กรณีที่ผู้ขอเป็นบุคคล)
-                   หนังสือโอนสิทธิ (กรณีที่ผู้ขอไม่ได้เป็นผู้ประดิษฐ์)
-                   หนังสือมอบอำนาจ
-                   ต้นฉบับหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีนิติบุคคล)
-                   สัญญาการว่าจ้าง/เอกสารแสดงการเป็นนายจ้างของผู้ประดิษฐ์
-                   คำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ต้องประกอบด้วย
-                   แบบพิมพ์คำขอ แบบสบ/สผ/อสป/001-ก
-                   คำพรรณนาแบบผลิตภัณฑ์ (ถ้ามี)
-                   ข้อถือสิทธิ
-                   รูปเขียน
-                   เอกสารอื่น ๆ ได้แก่
o  หนังสือรับรองสิทธิเกี่ยวกับการขอรับสิทธิบัตร (กรณีที่ผู้ขอเป็นบุคคลหนังสือโอนสิทธิ กรณีที่ผู้ขอไม่ได้เป็นผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์)
o  หนังสือมอบอำนาจ ต้นฉบับหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีผู้ขอเป็นนิติบุคคล)
o  สัญญาการว่าจ้าง/เอกสารแสดงการเป็นนายจ้างของผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ ผู้ประดิษฐ์คิดค้นสามารถที่จะเลือกว่าจะยื่นขอความคุ้มครองสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะขอความคุ้มครองทั้งสองอย่างพร้อมกันไม่ได้

อายุสิทธิบัตร
·       สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับจากวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร  
·       สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับจากวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร
·       อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 6 ปี นับจากวันยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร สามารถต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี รวมเป็น 10 ปี


**********************
ที่มา




น.ส.ณิชมน   ไตรธนาวัฒน์
เลขที่ 12   ห้อง 934
วิชาเศรษฐศาสตร์

ตลาดมืด

. ต ล า ด มื ด .


ตลาด หมายถึง การซื้อขายสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือภาวะการณ์ในการซื้อขายสินค้านั้นๆ ซึ่งก็หมายถึงว่า การซื้อขายไม่จำเป็นต้องมีตลาดเป็นตัวตน ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องมาพบกัน เพียงแต่ใช้เครื่องมือสื่อสารตกลงกัน

ตลาดในระบบเศรษฐกิจ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากตลาดทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยทำให้สินค้าจากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภค และยังช่วยให้ผู้บริโภคมีสินค้าและบริการมาบำบัดความต้องการได้อย่างทั่วถึง ซึ่งในบทนี้ จะศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดในทางเศรษฐศาสตร์

ความหมายของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์ 
หน้าที่ของการตลาด 
การตลาด ซึ่งรวมถึงการรับเสี่ยงภัยและการขนส่ง ย่อมมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในฐานะเป็นขั้นหนึ่งของกระบวนการผลิต ทั้งนี้ก็เพราะ การผลิต ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นถือว่าจะมีผลผลิต ก็ต่อเมื่อสินค้าได้ถึงมือผู้บริโภคแล้ว เท่านั้น จึงพอสรุปหน้าที่ได้ ดังนี้
•  แสวงหาอุปสงค์และคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับอุปสงค์
•  เสริมสร้างให้เกิดอุปสงค์
•  สนองความต้องการอุปสงค์

เมื่อคนทั่วไปนึกถึงตลาดมืด มักจะนึกถึงการขายสินค้าที่ผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด สิ่งลามก หรือสินค้าหนีภาษี ซึ่งต้องขายกันแบบหลบๆ ซ่อนๆ จะขายแต่ละทีก็ต้องขายในที่ลับตาคน หรือมิฉะนั้นก็กระซิบกระซาบชักชวนผู้ซื้อหน้าละอ่อนให้เข้ามา ซึ่งวิชาเรียกการแลกเปลี่ยนสินค้าเหล่านี้ว่าเศรษฐกิจใต้ดิน หรือ  Underground Economy

แต่คำว่า ตลาดมืด หรือ Black Marketในความหมายทางเศรษฐศาสตร์มีความหมายที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง แม้จะมีวิธีการซื้อขายแบบหลบๆ ซ่อนๆ ก็ตาม แต่ตลาดมืดคือภาวะที่มีการซื้อขายสินค้าในราคาสูงกว่าที่รัฐกำหนดไว้ การกระทำดังกล่าวถือว่าผิดกฎหมายแม้ว่าตัวสินค้าจะถูกกฎหมายก็ตาม

ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดตลาดมืดก็คือ การที่รัฐตั้งเพดานราคาไว้นั่นเอง เนื่องจากเพดานราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นซึ่งเป็นราคาที่ทำให้สินค้ามีอยู่ในตลาดพอดี ไม่ล้นหรือขาดตลาด ซึ่งเศรษฐศาสตร์เรียกราคานี้ว่า ราคาดุลยภาพ และการที่ราคาต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นนี้ทำให้ปริมาณความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ มีมากกว่าปริมาณความต้องการขายหรือ อุปทาน จึงเกิดภาวะสินค้าขาดตลาด และเนื่องจากสินค้ามีอยู่น้อยก็เลยทำให้ผู้ซื้อซึ่งต้องการสินค้านี้แย่งกันซื้อสินค้าจนยอมซื้อสินค้าที่ราคาสูงกว่าที่รัฐกำหนด
ที่สำคัญคือราคาที่ซื้อในตลาดมืดนี้มีราคาสูงกว่าราคาเดิมที่ควรจะเป็นด้วยซ้ำไป จากมุมมองนี้ เป็นไปได้ว่ามาตรการควบคุมราคาที่รัฐหวังดี อยากให้ประชาชนบริโภคของถูกกลับกลายเป็นผลเสียต่อประชาชนเอง
ปัจจุบัน ตลาดมืดมีทั้งในสถานที่ต่างๆ เช่น คลองถม ชลบุรี สำเพ็ง ฯลฯ รวมทั้งสามารถซื้อขายออนไลน์ได้ด้วย

***********************
ที่มา


น.ส.ณิชมน ไตรธนาวัฒน์  
เลขที่ 12   ห้อง 934
วิชาประวัติศาสตร์ไทยด้านเศรษฐกิจ